การปั๊มนูนเพื่อเพิ่มความสวยงามให้บรรจุภัณฑ์

Buddy Siriskaowkul
specialpack
Published in
2 min readFeb 20, 2019

--

ทำไมต้องทำให้บรรจุภัณฑ์ นูน ?

การเพิ่มความนูนหรือการทำลักษณะพิเศษบน บรรจุภัณฑ์เป็นการช่วยให้สินค้าที่อยู่ในภายในบรรจุภัณฑ์มีมูลค่ามากขึ้น, การสื่อถึงสิ่งของภายในได้ดีขึ้น จากการผู้ซื้อได้จับ texture , ทรวดทรงของบรรจุภัณฑ์

โดนเคยมีการทำการทดลองเรื่องความรู้สึกของผู้บริโภคต่อสิ่งของที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ ที่มีการทำความนูนและไม่ทำความนูน (Ferreira, Bruno & Capelli, Sonia. (2012). The Effects of the Haptic Perception of Packaging Texture in Product Perceptions.) โดยงานวิจัยได้สำรวจผ่านการนำขวดที่มี ลักษณะธรรมดา มาเปรียบเทียบกับขวดที่มีการทำลักษณะนูนผิวส้มแล้วทำการดื่มและจับบรรจุภัณฑ์ ผ่านการ Blind Testing ได้ผลลัพธ์ที่ว่า ขวดที่ได้ทำการนูนผิวส้มสื่อได้ถึงน้ำผลไม้ภายในได้ดีกว่าขวดธรรมดา

Image From The Effects of the Haptic Perception of Packaging Texture in Product Perceptions

เพราะฉะนั้นการทำนูนหรือเปลี่ยนผิวกระดาษของบรรจุภัณฑ์นั้นไม่ได้มีเพื่อความสวยงามเท่านั้นอาจช่วยไปถึงการบอกสิ่งที่อยู่ภายในต่อผู้บริโภคอีกด้วย

แล้วการปั๊มนูน ปั๊มจมคืออะไร ?

การปั๊มนูน (Embossing) : การเปลี่ยนแปลงผิวของวัสดุให้มีลักษณะนูนขึ้นตามแม่พิมพ์ที่ใช้ในการกดทับทำให้ดูมีมิติมากขึ้นสัมผัสได้ดีขึ้น

การปั๊มจม (Debossing) : การเปลี่ยนแปลงผิวของวัสดุให้มีลักษณะจมลงตามแม่พิมพ์ที่ใช้ในการกดทับซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการ ปั๊มนูนแต่กลับด้านกัน

ทั้งสองขบวนการมักใช้กับจุดพิมพ์ที่เป็น โลโก้, ตัวอักษรหรือเฉพาะจุดตามออกแบบมักพบในประเภทของกิน

ตัวอย่างเช่น กล่องเหล้า Johnnie Walker Gold Label ที่พบได้ตามร้านขายสุรา

กล่อง Johnnie Walker Gold Label ปัจจุบันมีการเปลี่ยนใหม่แล้ว

กล่องนี้มีการทำลักษณะนูนขึ้นที่ โลโก้ของแบรนให้มีความเด่นชัดขึ้น, มีการเพิ่มผิวบนกล่องให้มีความสวยงามมากขึ้นและเน้นนูนตัวอักษรบริเวณข้างกล่องผนวกกับตัวกล่องที่มีสีทองทำให้มีความสวยงามและเพิ่มมูลค่ามากขึ้นอีกด้วย

ลักษณะนูนบนตัวอักษะข้างชิ้นงาน
ลักษณะนูนบนตัวอักษรชื่อแบรน

Reference

  • Ferreira, Bruno & Capelli, Sonia. (2012). The Effects of the Haptic Perception of Packaging Texture in Product Perceptions.

--

--